การฝึกอบรมวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) ครั้งที่ 16

วันที่

Cassroom  สัปดาห์นี้เปลี่ยนบรรยาการศการอบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.)รุ่นที่ 2 มาที่สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย

 

วันนี้ยังคงเปิดตัวกับ วกส. Talk ทั้งสองท่านที่จะมาเล่าประสบการณ์ของตนเองหรือสิ่งที่น่าสนใจในภาคการเกษตรให้เพื่อนๆได้ฟัง ซึ่งเป็นประโยชน์และให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อไปพัฒนาต่อในภาคการเกษตร

 

กับหัวข้อ

 

“แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยกองทุนร่วมลงทุน”

 

โดย วกส. Talk  #1 : ดร.ณัฐพล  ประดิษฐผลเลิศ (ตัวแทนกลุ่มมัจฉานุ)

กรรมการและกรรมการบริหาร

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 

(SME D Bank)

 

และเรียนรู้ไปกับหัวข้อการบรรยาย

 

“วิสาหกิจฯ ปลูกกัญชากัญชงอย่างไรให้มีรายได้และประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน”

 

กับ วกส. Talk  #2 : คุณอรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล (ตัวแทนกลุ่มมังกร)

ประธานกรรมการบริหาร

บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด

 

ในช่วงที่ 1 ของวันนี้ จะได้พบกับวิทยากรทั้งสองท่านที่จะมาให้ความรู้และเล่าประสบการณ์

 

นำโดยท่านแรก

 

คุณศศิน เฉลิมลาภ

ประธานกรรมการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 

มาในหัวข้อการบรรยาย

“Climate Change และการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เรื่องใหญ่ ที่ใกล้กว่าที่คิด”

 

ปี พ.ศ. 2504 การใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เปลี่ยนแนวรอยต่อป่า 5 จังหวัด เป็นไร่มันสำปะหลังและข้าวโพด ก่อนหน้านั่นมีพื้นที่ป่า 70% ของประเทศ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 32% (80% ในสัดส่วนนี้เป็นป่าที่อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติ) แต่ไม่ใช่ผืนป่าที่ต่อเนื่องกัน

 

การสร้างเขื่อนไม่ได้ใช้พื้นที่ป่ามาก แต่จุดที่ค้านเพราะบริเวณที่ทำเขื่อนเป็นป่าที่ราบ ซึ่งในประเทศไทยเหลือน้อยมากและเป็นป่าที่มีเสือโคร่งที่กำลังจะสูญพันธุ์ ขยายพันธุ์อยู่  จึงคัดค้านการสร้างเขื่อน

 

และช่วงที่ 2
พบกับวิทยากรท่านต่อไปที่จะมาในหัวข้อการบรรยาย การเงิน การคลัง และภาคการเกษตร

คุณกรณ์ จาติกวณิช

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 

มาในหัวข้อการบรรยาย

 

กระทรวงการคลังมีการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจผ่านหน่วยงานที่เป็น “อาวุธลับ” เป็นเครื่องมือเข้าถึงประชาชนในการช่วยเหลือแก้ปัญหาได้มากที่สุดคือ ธกส. เช่น การแก้หนี้นอกระบบ การประกันรายได้

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาล มีการเติมเงินกับการประกันรายได้ ควรจะเป็นโครงการที่ใช้ช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น แต่มีการทำงานยาวนานจนสร้างหนี้สินให้กับภาครัฐ และไม่ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

 

ทั้งนี้รัฐเองก็มีการเพิ่มเพดานวงเงิน ทำให้เกิดหนี้สะสม ซึ่งปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้….

More
articles